กลับหน้าแรก พอเพียงโพธิ์เจริญ การเกษตร Dashboard เกี่ยวกับเรา

เทคโนโลยี

ทดลองระบบสมาร์ทฟาร์ม

สมาร์ทฟาร์เมอร์ (Smart Farmer)
หรือเกษตรอัจฉริยะ เพื่อเกษตกรไทย

   สมาร์ทฟาร์ม (Smart farm) เป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย) เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและพัฒนาภาคการเกษตรให้ยั่งยืนในอนาคต
    สมาร์ทฟาร์ม หรือเกษตรอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ที่จะทำให้การทำไร่ทำนามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ย่อย (Microclimate) ระดับไร่ (Mesoclimate) และระดับมหภาค (Macroclimate) มาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต โดยได้รับการขนานนามว่า เกษตรกรรมความแม่นยำสูง หรือ เกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเริ่มแพร?หลายเข?าไปในหลายประเทศ ทั้งยุโรป ญี่ปุ?น มาเลเซีย และอินเดีย
    คุณสมบัติพื้นฐานของ Smart farmer มี 6 ประการ คือ
    ประการที่ 1 เป็นผู้มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร หรือให้คำแนะนำปรึกษากับผู้อื่นที่สนใจในเรื่องที่ทำอยู่ได้
    ประการที่ 2 มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอื่นๆ เช่น Internet, Mobile smart phone เป็นต้น
    ประการที่ 3 มีการบริหารจัดการผลผลิตและการตลาด มีความสามารถในการบริหารจัดการปัจจัยการผลิต แรงงาน และทุน สามารถเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดเพื่อให้ขายผลผลิตได้ ตลอดจนสามารถจัดการของเหลือจากการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
    ประการที่ 4 เป็นผู้มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค มีความรู้หรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐาน GAPGMP
    ประการที่ 5 มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม/สังคม มีกระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (Green economy) มีกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง
    ประการที่ 6 มีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร มีความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตร รักและหวงแหนพื้นที่และอาชีพทางการเกษตรไว้ให้คนรุ่นต่อไป มีความสุขและพึงพอใจในการประกอบอาชีพการเกษตร
    แนวคิด “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” ในมุมมองของกระทรวงเกษตรฯ หมายถึงเกษตรกรที่มีความรู้อย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความคิดในการวางแผนเป็นเลิศ โดยเฉพาะการรู้ถึงอุปสงค์ของตลาดและเตรียมการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการ รวมทั้งความสามารถในเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนั้นยังมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้รวดเร็ว โดยการวิเคราะห์ข้อมูลรอบด้านเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจที่ตั้งอยู่บนหลักการและเหตุผล ตลอดจนรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเกษตร อาทิ เพื่อตอบรับกับสถานการณ์ด้านแรงงานที่ขาดแคลน
    ในมิติของผลผลิต “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” จะเน้นการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในด้านรายได้ ปัจจุบันรายได้เฉลี่ยของเกษตรกรอยู่ที่อัตราครัวเรือนละ 132,000 บาทต่อปลการก้าวสู่ “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” นั้น เกษตรกรจะมีรายได้อย่างน้อยในระดับเดียวกับหรือมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ หรือเท่ากับเงินเดือนขั้นต่ำของผู้จบปริญญาตรี รายได้ที่สูงขึ้นนี้จึงสะท้อนว่า “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” คือเกษตรกรซึ่งมีระดับมาตรฐาน ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดี คุณสมบัติทั้งหมดนี้จะส่งเสริมให้เกษตรกรที่เป็น “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
กรณีตัวอย่าง: “ชาวนาชั้นนำ”
   ตัวอย่างที่ชัดเจนของการเริ่มต้นสร้าง “สมาร์ทฟาร์มเมอร์” คือการพัฒนา “ชาวนาชั้นนำ” ของกรมการข้าว โดยการคัดเลือกชาวนาที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตข้าว มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ชาวนาอื่นๆ ได้ โดยน ามาต่อยอดผ่านการฝึกอบรมวิชาชีพการทำนาที่ทันสมัยและหลักสูตรการพัฒนาให้เป็นชาวนาชั้นนำ รวมทั้งให้โอกาสดูงานการพัฒนาการเกษตรทั้งในและต่างประเทศ จากนั้นเกษตรกรเหล่านี้จะรับหน้าที่เป็นวิทยากรชาวนาประจำท้องถิ่น และทำการประสานงานระหว่างกรมการข้าวกับชาวนาในพื้นที่ด้าน การเผยแพร่องค์ความรู้ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับข้าวเป็นประจำ เตือนภัยเรื่องศัตรูข้าวและภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบ รวมทั้งช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรในระดับตำบล นอกจากนั้นชาวนาชั้นนำ ยังได้รับประกาศนียบัตรเกียรติคุณหลังผ่านการอบรมและปฏิบัติภารกิจครบ 5 ปีเพื่อเป็นการยกย่องและสร้างความภาคภูมิใจในอาชีพ

ระบบสมาร์ทฟาร์มของพอเพียงโพธิ์เจริญ

ดาวส์โหลดคู่มือการใช้    พยอมแอพ รุ่น 1.1
   Pyom Application Vertion 1.0 พัฒนาโดย พอเพียงโพธิ์เจริญ สำหรับคนรักต้นไม้ หรือเกษตรทั่วไป เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการเกษตร ในการบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น ลักษณะ ตามหลักพฤกศาสตร์ ประเภท จำนวน ตำแหน่งพิกัด บันทึกภาพส่วนต่างๆ ภาพกิจกรรม การดูแลเก็บเกี่ยว หรือรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้วางแผนในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การปลูก การบำรุงรักษา การป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิต แต่ละฤดูกาลของพืชแต่ละชนิด ซึ่งนำเทคโนโลยีการสื่อสารระบบสมาร์ทฟาร์ม (IoT) มาใช้ เพียงแสกน QRCode ข้อมูลทุกอย่างที่บันทึกไว้จะแสดงในสมาร์ทโฟนของคุณทันที โดยมีการเชื่อมต่อระบบควบคุมระยะไกล (MQTT) ที่รับทราบอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ เพื่อช่วยวิเคราะห์การให้น้ำ และสั่งให้อุปกรณ์ควบคุมการเปิด-ปิดระบบน้ำ หรือกำหนดระยะเวลาได้
พิมพ์ตำว่า "PyomApp" ที่ Playstaro เพื่อติดตั้งในระบบ Android ได้ทันที
หรือคลิกที่ลิ้งค์นี้